เมนู

จิตตุปปาทกัณฑ์



กุศลธรรม



กามาวจรมหากุศลจิต 8



จิตดวงที่ 1



ปทภาชนีย์



[16] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?
กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส1 สัมปยุตด้วยญาณ2 มีรูปเป็น
อารมณ์ หรือ มีเสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มี
โผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น
ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ปีติ สุข
เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์
มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ
สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ
หิริพละ โอตตัปปะ อโลภะ อโทสะ อโมหะ อนภิชฌา อัพยาปาทะ
(สัมมาทิฏฐิ หิริ โอตตัปปะ) กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา
กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา
จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติสัมปชัญญะ สมถะ วิปัสสนา
ปัคคาหะ อวิกเขปะ. มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด
มีอยู่ในสมัยนั้น.
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

1. เกิดร่วมกับโสมนัสเวทนา 2. ประกอบด้วยปัญญา

อรรถกถาจิตตุปปาทกัณฑ์



อธิบายบทภาชนีย์กามาวจรกุศล



บัดนี้ เพื่อแสดงธรรมทั้งหลายที่ทรงรวบรวมไว้ด้วยมาติกา (แม่บท)
ตามที่ทรงตั้งไว้โดยชนิดต่าง ๆ จึงเริ่มบทภาชนีย์ นี้ว่า กตเม ธมฺมา กุสลา
(ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน) เป็นต้น.
ในบทภาชนีย์นั้น กามาวจรกุศล นี้ใด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง
ไว้ครั้งแรกว่า กามาวจรกุศลจิตเกิดขึ้นในสมัยใด ดังนี้ ในนิเทศแห่งกามาวจร-
กุศลนั้น มีมหาวาระ 3 คือ
ธัมมววัฏฐานวาระ (วาระว่าด้วยการกำหนดธรรม)
สังคหวาระ (วาระว่าด้วยการรวบรวม)
สุญญตวาระ (วาระว่าด้วยความว่าง).
บรรดาวาระทั้ง 3 เหล่านั้น ธัมมววัฏฐานวาระ ทรงตั้งไว้ 2 อย่าง
ด้วยอำนาจแห่งอุทเทสวารและนิทเทสวาร บรรดาอุทเทสวารและนิทเทสวาร
ทั้ง 2 นั้น อุทเทสวารมี 4 ปริจเฉท (ตอน) คือ ปุจฉา สมยนิทเทส
ธัมมนิทเทส อัปปนา. บรรดาอุทเทสวาร 4 ปริจเฉทนั้น ปริเฉทว่า กตเม
ธมฺม กุสลา
นี้ ชื่อว่า ปุจฉา ปริเฉทว่า ยสฺมึ สมเย กามาวจรํ
กุสลํ จิตฺตํ อุปฺปนฺนํ โหติ ฯเปฯ ตสฺมึ สมเย
(กามาวจรกุศลจิต
เกิดขึ้นในสมัยใด ฯลฯ ในสมัยนั้น ) นี้ ชื่อว่า สมยนิทเทส (แสดงเวลา)
ปริเฉทว่า ผสฺโส โหติ ฯเปฯ อวิกฺเขโป โหติ (ผัสสะย่อมมี ฯลฯ
ความไม่ฟุ้งซ่านย่อมมี) นี้ ชื่อว่า ธัมมนิทเทส (แสดงธรรม) ปริเฉทว่า